Support
ข้าวกล้อง ไร้สาร
086-3265553
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

กรรมวิธีสกัดน้ำมันมะรุม

Kanyagon2010@hotmail.com | 18-01-2558 | เปิดดู 769 | ความคิดเห็น 1

วิธีการสกัดน้ำมันมะรุม Seeds of Health

  • การสกัดเย็น ด้วยเครื่องสกรูเพรส (Screw Press) น้ำมันสกัดเย็น คือ การแยกน้ำมันออกจากเมล็ดโดยไม่ใช้ความร้อนและสารเคมี แล้วตั้งทิ้งไว้ให้ตกตะกอนจึงได้น้ำมันที่ใสบริสุทธิ์ และคงคุณค่าและสรรพคุณของของมะรุม
  • วิธีการบีบอัดโดยเครื่องสกรูเพรส (Screw Press) น้ำมันมะรุมที่บีบออกมาโดยแรงบดไประหว่างสกรูในแนวนอน จนได้น้ำมันออกมา น้ำมันประเภทนี้จัดเป็นน้ำมันคุณภาพดี จะได้น้ำมันคุณภาพดี มีสี กลิ่น รส ตามธรรมชาติเพราะไม่ผ่านความร้อนเลย แต่จะมีความร้อนเกิดขึ้นจากแรงเสียดสีระหว่างการบด ปริมาณน้ำมันที่สกัดได้ ประมาณ 30-40% มากกว่าการสกัดด้วยไฮโดรลิก เมื่อได้น้ำมันจะต้องนำไปกรองด้วยกระดาษกรอง
  • วิธีการสกัด เริ่มจากการนำเมล็ดมะรุมจากฝักแก่มาตากแดด เพื่อไล่ความชื้น แล้วทำการบีบด้วยเครื่องบีบอัดระบบสกรูเพรส จากเมล็ดมะรุมแห้งปริมาณ 8-12 กิโลกรัม จะสกัดได้น้ำมันมะรุม 1 ลิตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของเครื่องด้วยข้อดีของน้ำมันมะรุมที่สกัดด้วยวิธีนี้ : จะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวตำแหน่งเดียวสูง ซึ่งกรดไขมันชนิดนี้ช่วยลอไขมันพวกไตรกลีเซอไรด์ และลดคอเลสเตอรอลไม่ดีอีกด้วย

การสกัดน้ำมันมะรุมนั้นสามารถสกัดได้อีกหลายวิธี ดังนี้

  • สกัดน้ำมันมะรุมโดยการเคี่ยว (Rendering) โดยการนำเมล็ดมะรุมแก่มาบดให้ละเอียด แล้วนำไปใส่กระทะ เติมน้ำสองเท่าของเนื้อเมล็ดมะรุมที่บดแล้วนำไปตั้งไฟให้เดือดแล้วหรี่ไฟลง หลังจากนั้นก็เคี่ยวกับไปพออ่อนๆ เคี่ยวจนน้ำมันแยกตัวออกมา ลอยตัวเหนือน้ำหรือเคี่ยวจนน้ำระเหยออกหมด ก็จะได้น้ำมันออกมา แล้วกรองแยกเอาน้ำมันมะรุมมาบรรจุขวด
  • สกัดน้ำมันมะรุมโดยการกลั่น นำเมล็ดมะรุมในฝักแก่ มาบดละดอียดแล้วผสมน้ำ ต้มให้เดือด 5-10 นาที แล้วยกลงจากเตา นำมากรองด้วยผ้าขาวบาง แล้วใส่ขวดหรือภาชนะที่มีทรงสูง ทิ้งไว้ 1 คืน เพื่อปล่อยให้น้ำมันแยกตัวเป็นชั้น จากนั้นจึงตักน้ำมันมากรองใส่ขวดเก็บไว้ ส่วนกากมะรุมที่เหลือนำไปทำปุ๋ยอินทรีย์ได้

        https://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=2ahk1syZEKU

 

 

งานวิจัย ด้านการป้องกันและการรักษาโรค

เมื่อไม่นานมานี้การศึกษาวิจัยในหลายประเทศได้แสดงให้เห็นคุณประโยชน์ของต้นมะรุมมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณประโยชน์ในด้านอาหารและยา ซึ่งมีการค้นพบว่า มะรุมมีสรรพคุณในการรักษาโรคขาดสารอาหาร โรคตาเกือบทุกชนิด รวมทั้งยังมีแนวโน้มในการรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิต มะเร็ง และเอดส์อย่างได้ผล ทำให้มะรุมกำลังเป็นที่สนใจของหลายประเทศเช่น อเมริกา อังกฤษ เยอรมัน ญี่ปุ่น จีน เป็นต้น จนได้รับการขนานนาม “มะรุม” ว่า ต้นไม้มหัศจรรย์

ประโยชน์ของมะรุมในการรักษาหรือป้องกันโรคหรือการติดเชื้อ สามารถผลิตได้หลายวิธีทั้ง การสกัด, การต้มสกัด, ครีม, บีบน้ำมัน, ตากแห้ง, บดผง โดยมีการนำมะรุมมาใช้เป็นยาปฏิชีวนะ, บรรเทาโรคความดัน, คลอเรสเตอรอลสูง, โรคลมชัก, ยาฆ่าเชื้อโรค, ฝีหนอง, แผลพุพอง, และ Hypoglycemic

แต่งานวิจัยเหล่านี้ไม่ได้รับการตีพิมพ์มากนัก ดังตัวอย่างเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว ได้มีบทความเผยแพร่ เรื่องมะรุมที่มีสรรพคุณในการรักษาโรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แต่กลับไม่มีหลักฐานด้านงานวิจัยที่น่าเชื่อถือมารับรอง จึงทำให้การใช้มะรุมในทางการแพทย์และทางด้านโภชนาการไม่ได้รับการยอมรับมากนัก

ในกรณีของการทดลอง in-vitro (cultured cell) และ in-vivo (animals) ได้ยกระดับการแพทย์ท้องถิ่นที่ขึ้นมา เช่น มีงานที่ศึกษาเกี่ยวกับการยกระดับความหลากหลายของเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการขับสารพิษ(detoxation) และการต้านอนุมูลอิสระ(antioxidant)โดยการรักษาด้วยมะรุมหรือการสกัดphytochemical จากมะรุม

การทำงาน Antibiotic

คณะจากมหาวิทยาลัยบอมเบย์ (BR Das), มหาวิทยาลัย Travancore (PR Kurup), และภาควิชาชีวะเคมี สถาบันวิทยาศาสตร์อินเดียนใน Bangalore (PLN Rao) ได้มีการวิจัยเพื่อจำแนกสารประกอบที่เรียกว่า pterygospermin(4) ซึ่งพบว่ามีคุณสมบัติต้านเชื้อจุลินทรีย์ และยังได้แสดงลักษณะการทำงานพิเศษในการต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์อีกด้วย

ในวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของนักเคมีที่มีชื่อเสียง Martin Ettlinger (Phd) โดย Benny Badgett ได้ระบุจำนวน glyosylated derivatives ของ benzyl isothiocyanate(5) (เช่น สารประกอบคาร์บอน 6 โมเลกุลในน้ำตาล และ rhamnose) (8) และต่อมาได้มีการค้นพบอีกครั้งโดย Kjaer และผู้ช่วยได้ร่วมมือกันแยกสารประกอบของ 4-(‘A-L-rhamnopyranosyloxy) benzyl glucosinolate (6) และ isothiocyanate (2) และพิสูจน์การทำงานของสารประกอบที่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียและเชื้อรา (เห็ด)

การศึกษาเรื่องอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมที่มีต่อมนุษย์และสัตว์ (Table1) แสดงประสิทธิภาพการรักษาอาการติดเชื้อทั้งภายในและภายนอกโดยการใช้ใบ, ราก, เมล็ด, เปลือกไม้และดอกของมะรุม

นอกจากนี้สารประกอบนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้าน Helicobacter pylori ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่สามารถพบได้ในมนุษย์ทุกที่ในโลกโดยเฉพาะแหล่งชุมชนแออัด เป็นสาเหตุหลักของการเกิดโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และเป็นปัจจัยหลักของโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร (W.H.O องค์การอนามัยโลกได้จัดให้เป็นสารก่อมะเร็งในปี 1993) สารประกอบเหล่านี้เป็นยาปฏิชีวนะที่มีฤทธิ์ต่อต้าน H. pylori ที่มีความเข้มข้นมากกว่า 100-fold ซึ่งจะต่ำกว่าที่ใช้ต้านแบคทีเรียชนิดอื่นและเห็ด รา

การป้องกันมะเร็ง

ตั้งแต่มีการนำมะรุมมาใช้ในการแพทย์พื้นบ้านซึ่งมีคุณค่าอย่างมากในการบำบัดผู้ป่วยที่เป็นเนื้องอก ได้มีการใช้ ในการป้องกันมะเร็งอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังได้มีการแสดงสารประกอบ ที่มีฤทธิ์ยับยั้งไวรัส Epstein-Barr วึ่งได้ไปกระตุ้นกระบวนการสร้างแอนติบอดี้ในเซลล์ lymphoblastoid (ต่อมน้ำเหลือง Burkitt)

ในการศึกษาต่อมาของ Bharail และคณะได้ทำการตรวจสอบการป้องกันการเกิดเนื้องอกที่ผิวหนังและต่อมน้ำเหลืองของมะรุม และยังช่วยลดการเกิดหูดที่ผิวหนังด้วย

ในงานวิจัยอีกชิ้นพบว่า สารเบนซิลไทโอไซยา เนตไกลโคไซด์ชนิดหนึ่งและสารไนอาซิไมซิน จากมะรุม สามารถต้านการเกิดมะเร็งที่ถูกกระตุ้นโดยสารฟอบอลเอสเทอร์ในเซลล์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ การทดลองในหนูพบว่า กลุ่มที่กินมะรุม เนื้องอกนผิวหนัง น้อยกว่ากลุ่มควบคุม และหนูที่ได้รับฝักมะรุม มีอาการเกิดโรคมะเร็งผิวหนัง จากการกระตุ้นน้อยกว่ากลุ่มทดลอง

สารต้านอนุมูลอิสระ

ในธรรมชาติมีสารต้านอนุมูลอิสระอยู่ในอาหารที่มาจากพืชมากมาย อย่างวิตามินซี และวิตามินเอ และจำนวนของสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชที่ถุกค้นพบมากขึ้นทุกวัน เฉพาะไอโอฟลาโวนอยด์ (คือสารต้านอนุมูลอิสระที่ละลายน้ำได้) ก็มีมากมายหลายพันชนิดเช่น คูมาริน (Coumarin) คาเทคิน (Catechin) แอนโทไซยาโนไซด์ (Anthocyanoside) และโอโซฟลาโวน (Isoflavone)

Antioxidant เป็นสารที่ต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอการเสื่อมของเซลล์ผิวให้ช้าลงได้ ทำให้ผิวยังคงความเปล่งปลั่ง สดใส และมีชีวิตชีวา เราสามารถรับสารแอนติออกซิแดนต์ได้จากวิตามินเอ ซี และอี รวมถึงในสารประกอบอื่นๆ เช่นโคเอนไซม์ ๐10 หรือ ซีสเตอีน เป็นต้น

มะรุมช่วยชะลอความแก่

มะรุมมีฤทธิ์ชะลอความแก่ เนื่องจากมะรุมมีสารฟลาโวนอยด์สำคัญคือ รูทินและเควอเซทิน (rutin และ quercetin) สารลูทีนและกรดแคฟฟีโอลิลควินิก (lutein และ caffeoylquinic acids) ซึ่งต้านอนุมูลอิสระ ดูแลอวัยวะต่างๆได้แก่ จอประสาทตา ตับ และหลอดเลือดจากการเสื่อมสภาพตามอายุ ดังนั้นการกินมะรุมอย่างสม่ำเสมอ ต่อเนื่องและในปริมาณที่มากพอเป็นประจำ จะทำให้ร่างกายได้รับสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งมีส่วนช่วยชะลอการเสื่อมสภาพในเซลล์ร่างกาย

โรคขาดสารอาหาร

ต้นมะรุมนิยมนำมาใช้กับคนที่มีอาการของโรคขาดสารอาหารโดยเฉพาะในเด็กอ่อนและแม่หลังคลอด โดยมี3องค์กรเอกชนที่สนับสนุน การนำมะรุมมาใช้ในเขตร้อนคือ Trees for Life, Church World Service และ Educational Concerns for Hunger Organization ใบมะรุมสามารถทานสด, นำมาปรุงอาหาร, หรือบดเป็นผงเก็บรักษาไว้ได้หลายเดือน โดยไม่เสียคุณค่าทางอาหาร ไม่ต้องแช่เย็น มะรุมเป็นแหล่งอาหารที่เหมาะกับประเทศในเขตร้อนเนื่องจากพืชที่มีใบเต็มต้นในช่วงปลายฤดูแล้งในขณะที่อาหารอื่นกำลังขาดแคลน โดยมีความแตกต่างในเรื่องของการนำมาประกอบอาหารและยารักษาโรค จากวัฒนธรรมของประเทศต่างๆ (เปลือก, ผล, ใบ, เมล็ด, หัว, ราก, ดอก)

ปัจจุบันมีรายงานจำนวนมาก เกี่ยวกับคุณค่าทางโภชนาการของมะรุม ทั้งในบทความทางวิทยาศาสตร์และบทความทั่วไป ใบมะรุมมีวิตามินเอมากกว่าแครอท มีแคลเซียมมากว่านม มีธาตุเหล็กมากกว่าผักโขม มีวิตามินซีมากกว่าส้ม มีโพแทสเซียมมากกว่ากล้วย และมีโปรตีนเทียบเท่ากับนมและไข่ ซึ่งทั้งนี้ เพื่อเตรียมรับมือกับภาวะการขาดแคลนอาหารที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

เปรียบเทียบสมุนไพรลดน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่เป็นเบาหวานจาก ALLOXAN

มีการศึกษาสมุนไพรพื้นบ้านของประเทศอินเดียชนิดต่างๆ 30 ชนิดที่มีการใช้เพื่อลดน้ำตาลในเลือด ศึกษาโดยใช้สารสกัดเอทานอล 95% ทำให้แห้ง นำมาศึกษาฤทธิ์ลดระดับน้ำตาลในเลือดในหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดโรคเบาหวานด้วย alloxan เป็นเวลา 2 สัปดาห์

โดยพบว่าสมุนไพร 24 ชนิดที่มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด เรียงลำดับจากมากไปน้อย ซึ่งมะรุมจัดอยู่ในลำดับต้นๆดังนี้ ตำลึง, Tragia Involucrate, Gymnema, ประดู่ ลูกซัด, มะรุม, หว้า, ชิงช้าชาลี, Swertia chirayita, มะระขี้นก, มะเดื่อชุมพร, Ficus benghalensis, พังพวยฝรั่ง, Premna integrifolia, หมามุ่ย, สมอพิเภก, Sesbenia aegyptiaca, สะเดา, Dendrocalamus hamiltonii, ขิง, มะตูม, Cinnamomum tamala, บวบขม, กะเพรา

ฤทธิ์ลดไขมันและคลอเรสเตอรอล

การศึกษาการกินสารสกัดใบมะรุมในหนูที่กินอาหารไขมันสูงมีปริมาณคลอเรสเตอรอลในเลือดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ เทียบกับกลุ่มควบคุมนอกจากนี้กลุ่มทดลองมีไขมันในตับและไตลดลง สรุปว่าการให้ใบมะรุมเพื่อลดปริมาณไขมันทางการแพทย์อินเดีย สามารถวัดผลได้เชิงวิทยาศาสตร์จริง

ฤทธิ์ป้องกันตับ

งานวิจัยการให้สารสกัดใบมะรุม กรณีทำให้ตับหนูทดลองเกิดความเสียหายโดยยาไรแฟมไพซิน พบว่าสารสกัดใบมะรุมมีฤทธิ์ป้องกันตับ โดยมีผลกับระดับเอนไซม์แอสาเทตอะมิโนทรานสเฟอเรสอะลานีนทรานมิโน ทรานสเฟอเรส อัลคาไลน์ฟอสฟาเทสและบิลิรูบินในเลือด และมีผลกับปริมาณ ไลพิดและไลพิดเพอร์ออกซิเดสในตับ โดยดูผลยืนยันจากการตรวจชิ้นเนื้อตับสารสกัดใบมะรุมและซิลิมาริน(silymarin กลุ่มควบคุมบวก) มีผลช่วยการพักฟื้นของการถูกทำลายของตัวจากยาเหล่านี้ ชาวอินเดียยังได้ทำการทดลองและเชื่อว่ามีคุณสมบัติจริง

 

 

http://www.plakard.com/id-50e426e3e216a71e2d000000.html

 

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=978854858809546&id=976733132355052

 

https://plus.google.com/u/0/b/106884564332414799750/106884564332414799750

 

น้ำมันมะรุม บริสุทธิ์100%...

 

 

น้ำมันมะรุมเป็นสมุนทรไพรที่ให้คุณค่าอนันต์ และเป็นที่นิยมในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย น้ำมันเมล็ดมะรุมมีตัวยาที่ธรรมชาติสร้างสรรไว้ ออกฤทธิ์บำบัด ปกป้อง ป้องกัน ได้อย่างดีเยี่ยม และใบมะรุมก็สามารถใช้รับประทานเหมือนพืชผักทั่วๆไป ส่วนของเมล็ดแห้งมะรุม สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ใช้ลดการอักเสบกระทั่งน้ำมันเมล็ดแห้งมะรุม สามารถใช้เป็นส่วนสำคัญในการผลิตเครื่องสำอางมากมาย

ความคิดเห็น

วันที่: Mon May 06 12:07:04 ICT 2024

แสดงความคิดเห็น
All Comments: 1 Pages: 1/1
guest

2015-01-21 12:37:51.0 Post : 2015-01-21 12:37:51.0

Quote

1

 

 

 

ขายข้าวอินทรีย์นานาชนิด Riceฯ
ข้าวไรซ์เบอรี่ ฯ
ข้าวฮาง(ข้าวนิล) ฯ
ข้าวกล้องฯ
ทั้งส่งทั้งปลีก
ส่งฟรีทั่วไทย
ส่งตรงจากชาวนา
ติดต่อ
Tel:090-9610626,089-9096579,086-3265553